การเลือกผ้าเพื่อใช้ในงานตัดเย็บมีความสำคัญต่อผู้ที่เพิ่งเริ่มฝึกหัดตัดเย็บเสื้อผ้าใส่เอง เนื่องจากยังไม่มีทักษะและความชำนาญเพียงพอ ดังนั้นก่อนจะเลือกซื้อผ้าควรพิจารณาดังนี้
ประเภทของเส้นใย
ผ้าเป็นวัสดุที่ทำมาจากเส้นใยชนิดต่างๆ โดยการนำเส้นใยมาปั่นมาถักหรือทอเป็นผ้า ผ้าแต่ละชนิดมีคุณสมบัติตามลักษณะของเส้นใยที่ใช้ผลิต เราควรมีความรู้เรื่องเส้นใยที่นำไปผลิตผ้าเพื่อจะได้นำความรู้ไปเลือกใช้เสื้อผ้าได้อย่างเหมาะสม โดยทั่วไปเส้นใยที่นำมาทอผ้าเพื่อใช้ในการสวมใส่มี 2 ประเภท ดังนี้
เส้นใยที่ได้จากธรรมชาติ
เป็นเส้นใยที่ได้จากพืชและสัตว์ เช่น ฝ้าย ไหม ขนสัตว์ นอกจากนี้ยังมีเส้นใยที่ได้จากแร่ คือ เส้นใยที่ได้จากแร่ใยหิน มีคุณสมบัติเด่นคือไม่ติดไฟ ดังนั้นเส้นใยชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับทำผ้าทนไฟ เช่น เสื้อดับเพลิง ถุงมือกันความร้อน เป็นต้น เส้นใยธรรมชาติที่นิยมนำมาใช้ทำเสื้อผ้ามีดังนี้
1.1 ฝ้าย ได้จากส่วนที่ห่อหุ้มเมล็ด เรียกว่าปุยฝ้าย มีลักษณะเป็นเส้นใยเส้นเล็กๆ นำมาปั่นเป็นเส้นด้ายและทอเป็นผืนผ้า
ฝ้ายมีคุณสมบัติดูดซึมน้ำและความชื้นได้ดี ทนต่อการซักรีด ทนต่อกรดและด่าง แต่ยับง่าย นิยมนำมาทำเป็นเสื้อผ้าเพราะสวมใส่สบาย ดูดซับเหงื่อได้ดี ระบายความร้อนได้มาก ติดสีย้อมได้ดี ซักรีดได้ง่าย และราคาถูก
1.2 ลินิน เป็นเส้นใยที่ได้จากส่วนลำต้นของต้นแฟล็กซ์ เมื่อนำมาทอเป็นผืนผ้าเรียกว่าผ้าลินิน นิยมนำมาทำเสื้อผ้าและเครื่องใช้ประเภทผ้า
ลินินมีคุณสมบัติดูดซึมน้ำ ความชื้นและดูดซับเหงื่อได้ดีเช่นเดียวกันกับผ้าฝ้าย แต่ลินินมีราคาแพงกว่าฝ้าย มีความเหนียวและเนื้อผ้าเป็นมันกว่าฝ้าย ทนต่อการซักรีด แต่ไม่ควรลงแป้งเพราะเนื้อผ้าแข็งตัวอยู่แล้ว
1.3 ป่าน เป็นเส้นใยที่ได้จากส่วนลำต้นของต้นป่านศรนารายณ์ เมื่อนำมาทอเป็นผ้าจะได้ผ้าสีน้ำตาลเข้มฟอกขาวได้ยาก ดังนั้นผ้าป่านจึงนิยมย้อมเป็นสีสดใส นิยมนำมาทำเป็นของใช้ของประดับตกแต่งบ้าน ทำกระสอบ และทำเสื้อผ้า
ป่านมีคุณสมบัติดูดซึมน้ำและดูดความชื้นได้ดี ทนต่อการซักรีด ทนต่อมอด แต่ไม่ทนต่อรา
1.4 ไหม เป็นเส้นใยที่ได้จากรังไหมโดยการนำรังไหมไปต้ม และนำใยไหมออกจากรัง เรียกว่าการสาวไหม ผ้าที่ผลิตจากใยไหมมีความสวยงาม เป็นมัน หรูหรา ราคาแพง นิยมนำมาเป็นเสื้อผ้าได้ทุกชนิด เช่น เสื้อสูท กระโปรง กางเกง ชุดกลางวัน ชุดกลางคืน เป็นต้น
ไหมมีคุณสมบัติดูดซึมน้ำและดูดความชื้นได้ดี มีลักษณะเรียบ เงามันเป็นประกาย อ่อนตัว แต่คงรูปได้ดี สวยงาม ให้ความสบายเมื่อสวมใส่ เมื่อถูกแสงแดดและเหงื่อไคลจะทำให้ความเหนียวลดลง เนื้อผ้ายับง่าย รีดให้เรียบได้ยาก
เส้นใยสังเคราะห์
ใยสังเคราะห์เป็นเส้นใยที่ประดิษฐ์ขึ้นจากพืชเรียกว่าใยเซลลูโลส และเส้นใยที่ประดิษฐ์ขึ้นจากสัตว์เรียกว่าใยโปรตีน รวมทั้งจากสารเคมี เส้นใยสังเคราะห์มีมากหลายชนิด เช่น อะคลิลิก โพลีอะไมด์ วินยอน โพลีเอสเตอร์ เป็นต้น ในปัจจุบันนิยมใช้เส้นใยสังเคราะห์กันมาก โดยนำมาทำเป็นเสื้อผ้าและของใช้ต่างๆ
เส้นใยสังเคราะห์ที่นิยมนำมาทำเป็นเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ดังนี้
2.1 ใยโพลีอะไมด์ เป็นเส้นใยสังเคราะห์จากสารเคมี นิยมใช้ทำพรม เต้นท์ ผ้าตัดชุดชั้นใน ชุดกีฬา ร่ม หรือนำไปทอผสมกับใยชนิดอื่น นอกจากนี้ยังนำมาทำแปรง ใช้ชื่อการค้าว่า ไนลอน ซึ่งใยโพลีอะไมด์ มีคุณสมบัติทนยับได้ดี มีความเหนียว แต่ไม่ทนต่อความร้อน
2.2 ใยโพลีเอสเตอร์ เป็นใยสังเคราะห์จากสารเคมีที่ทนยับและคงรูปได้ดี นิยมนำไปทอผสมกับใยฝ้ายและนำไปตัดเสื้อ ตัดกระโปรงหรือตัดกางเกงได้ดี เป็นที่นิยมรองจากฝ้าย ใยโพลีเอสเตอร์ เป็นใยสังเคราะห์จากสารเคมีที่มีคุณสมบัติทนยับได้ดี ดูแลรักษาง่าย เมื่อนำไปผสมกับใยชนิดอื่นก็จะเพิ่มคุณสมบัติให้ผ้านั้นไม่ยับ น่าใช้ ดูดซึมความชื้นได้น้อย
3 Comments
John Doe
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Etiam blandit sem vel neque iaculis, vitae tempus lacus pellentesque. Nullam sed est vel massa laoreet varius. Sed euismod arcu ante, ac lacinia nunc venenatis eget. Sed bibendum, turpis vitae dapibus venenatis, urna ex blandit felis, eu faucibus mi sapien non velit. Aenean eu tempor lectus. Nulla bibendum, ipsum maximus facilisis ultrices, arcu augue.
Chris Johnson
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Etiam blandit sem vel neque iaculis, vitae tempus lacus pellentesque. Nullam sed est vel massa laoreet varius. Sed euismod arcu ante, ac lacinia nunc venenatis eget. Sed bibendum, turpis vitae dapibus venenatis, urna ex blandit felis, eu faucibus mi sapien non velit.
Eddie Barkley
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Etiam blandit sem vel neque iaculis, vitae tempus lacus pellentesque. Nullam sed est vel massa laoreet varius. Sed euismod arcu ante, ac lacinia nunc venenatis eget. Sed bibendum, turpis vitae dapibus venenatis, urna ex blandit felis, eu faucibus mi sapien non velit.